สาระสังคมศึกษา

1.วัฒนธรรม คือ
วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต (The way of life) ของคนในสังคม นับตั้งแต่วิธีกิน วิธีอยู่ วิธี แต่งกาย วิธีทำงาน วิธีพักผ่อน วิธีแสดงอารมณ์ วิธีสื่อความ วิธีจราจรและขนส่ง วิธีอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ วิธี แสดงความสุขทางใจ และหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต โดยแนวทางการแสดงออกถึงวิถีชีวิตนั้นอาจเริ่มมาจาก เอกชนหรือคณะบุคคลทำเป็นตัวแบบ แล้วต่อมาคนส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติสืบต่อกันมา วัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลง ไปตามเงื่อนไขและกาลเวลาเมื่อมีการประดิษฐ์หรือค้นพบสิ่งใหม่ วิธีใหม่ที่ใช้แก้ปัญหาและตอบสนองความ ต้องการของสังคมได้ดีกว่า ซึ่งอาจทำให้สมาชิกของสังคมเกิดความนิยม และในที่สุดอาจเลิกใช้วัฒนธรรมเดิม ดังนั้นการรักษาหรือธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมเดิมจึงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยน แปลงหรือพัฒนาวัฒนธรรมให้ เหมาะสมมีประสิทธิภาพตามยุคสมัย
อ่านต่อคลิก

2.ศาสนาสากล
คนทุกคนมีที่พึ่งทางใจอยู่แล้ว และที่พึ่งทางใจของคนนั้นก็คือ ศาสนา แต่ศาสนาคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร มีกี่ประเภทนั้น บอกได้เลยว่า มีหลากหลายมาก แต่ที่เรารู้จักกันดีนั้น เช่น พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาอิสลามเป็นต้น ส่วนนอกเหนือจากนั้น อาจจะเป็นศาสนาที่คนนับถือน้อย ทำให้คนไม่ค่อยรู้จักหรือนับถือกันมากนัก
ศาสนาคือ ? ศาสนา หมายถึง ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ ในหลักอภิปรัชญาว่าทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นมาดำรงอยู่และจะเป็นเช่นไรต่อไป มีหลักการ สถาบัน หรือประเพณี ที่เป็นที่เคารพโดยทั่วไป แล้วอาจกล่าวได้ว่า ศาสนาเป็นสิ่งที่ควบคุม และประสานความสัมพันธ์ของมนุษย์ ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข คือ ให้มีหลักการ ค่านิยม วัฒนธรรมร่วมกันและวิถีทางที่มนุษย์เลือกใช้ในการดำรงชีวิต ให้สังคมเป็นหนึ่งเดียวกัน มีแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยหลักจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรมที่เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน

องค์ประกอบของศาสนา มี
1.สิ่งเคารพสูงสุด 2.ศาสดา 3.คัมภีร์

4.ผู้สืบทอด 5.ศาสนสถาน 6.สัญลักษณ์

7.พิธีกรรม

อ่านต่อคลิก

3.การศึกษากับความเป็นพลโลก
การศึกษาในยุคปัจจุบัน มีพูดถึงหลักสูตรการเป็นพลโลก ผมเองไม่ได้ศึกษาว่าความเป็นพลโลกในหลักสูตร มีหลักการอย่างไร แต่ผมขอแสดงความคิดเห็นในมุมมองของผมเอง

ความเป็นพลโลกในมุมมองของผม คือ การมีมุมมองทางการศึกษาระดับโลก นั่นคือ ต้องมีมุมมองที่กว้างและไกล

ขอยกกรณีตัวอย่างของการจัดการศึกษาของประเทศต่างๆ ที่พัฒนาแล้ว ในควาใปนพลโลกทางการศึกษา
ประเทศญี่ปุ่น

* ปลูกฝังเรื่องความเอื้ออาทร

ครูประจำชั้นได้ตั้งเป้าหมายพื้นฐานไว้ว่า ในชั้นเรียนผู้เรียนต้องมีความสุขและร่วมรับรู้แลกเปลี่ยนความรู้สึกร่วมกัน ระหว่างเพื่อน ๆ ในชั้น
วิธีการของครูประจำชั้นก็ คือ ให้เด็กทุกคนเขียนบันทึกทุกวัน แล้วนำมาอ่านดัง ๆ หน้าชั้นเรียนให้เพื่อนฟัง กติกาก็คือต้องเขียนเรื่องจริงที่เป็นความรู้สึกจริง ๆ มาจากภายในของตนเอง
ด้วยกระบวนการเช่นนี้เด็ก ๆ ได้เริ่มต้นเพื่อทำให้เห็นจริงถึงความสำคัญของการเอาใจใส่ผู้อื่น ครูคานาโมริบอกว่า “ความรู้สึกที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่นเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก”

* ปลูกฝังเรื่องการใช้เหตุผล
มีเรื่องที่คิดไม่ถึงเกิด ขึ้น เมื่อเด็กคนหนึ่งถูกครูทำโทษไม่ให้ล่องแพเพราะชอบคุยในชั้นเรียน ครูเตือนแล้วก็ไม่ฟัง ปรากฎว่าเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของครู
“มันเป็นเรื่องอันตรายมากที่ จะลุกขึ้นมาท้าทายกับอำนาจ” แต่เพื่อน ๆ ก็มีความกล้าที่จะแสดงเหตุผลกับครู

* การใช้ ICT
ที่ญี่ปุ่น จะไม่ให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์มาก แต่ละโรงเรียนจะมีคอมพิวเตอร์ไม่กี่เครื่อง เพราะถ้าใช้ตอมพิวเตอร์มาก เด็กจะไม่คิด
อ่านต่อคลิก

4.ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ
การทำบุญเดือนสิบ มิได้มีอยู่ที่ภาคใต้แห่งเดียว หากมีทั่วไปทั่วไปทั้งภูมิภาคในชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น

*- ในภาคอีสาน เรียก บุญข้าวประดับดินและบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก

*- ภาคเหนือ เรียก กินก๋วยสลาก หรือทานก๋วยสลาก

*- ภาคกลาง เรียก สลากภัตรและสลากกระยาสารท

*- ในท้องถิ่นภาคใต้มี ประเพณีทำบุญเดือนสิบ

โดยเฉพาะ 'งานเดือนสิบ' ของ นครศรีธรรมราช เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางที่สุด ประเพณีดังกล่าวทำต่อเนื่องกันมาช้านานตั้งแต่กาลดึกดำบรรพ์ "ทำบุญเดือนสิบ" ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเชิญผีบรรพบุรุษ คือ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ตายไปแล้วมากินเลี้ยง แต่ทุกวันนี้มีประเพณีชิงเปรตในเทศกาลวันสารทเดือนสิบ โดยทำร้านจัดหฺมฺรับ คือ สำรับกับข้าว ไปวางไว้เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้เปรตที่หมายถึงผีบรรพบุรุษ เมื่อวางแล้วก็มีผู้คนทั้งหลายไปแย่งสิ่งของเหล่านั้น จึงเรียกว่า "ชิงเปรต" เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันทั่วไปในภาคใต้ โดยเฉพาะในท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการปฏิบัติประเพณีนี้อย่างจริงจังมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน

-* ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ เป็นประเพณียิ่งใหญ่ มากในจังหวัดนครศรีธรรมราช จะมีขึ้นในวันแรม ๑๓ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือนสิบในราวเดือนกันยายน หรือตุลาคมของทุกปี

-* ประเพณีบุญสาารทเดือนสิบเกิดขึ้นด้วยเหตุผลในทำนองเดียวกับชาวอินเดียที่มีพิธี 'เปตพลี' เพื่อ เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งจะถูกปล่อยตัวจากยมโลกเพื่อให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องและลูกหลานในเมือง มนุษย์ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบ และกลับลงไปอยู่ในนรกดังเดิม ในวันแรก ๑๕ ค่ำเดือนสิบ ลูกหลานจึงนำอาหารไปทำบุญที่วัดเพื่อเป็นการอุทิศ ส่วนกุศลให้แด่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยทำในวันแรก ที่ผู้ล่วงลับมาจากยมโลก คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือนสิบ เรียกว่า 'วันหฺมฺรับเล็ก' และวันที่ผู้ล่วงลับจะต้องกลับยมโลกดังเดิมคือวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ เรียกว่า วันหฺมฺรับใหญ่' (คำว่า 'หฺมฺรับ' มาจากคำว่า 'สำรับ' )

-* งานจะเริ่มครึกครื้นตั้งแต่วันแรก ๑๓ ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งถือว่าเป็น 'วันจ่าย' เนื่องจากชาวเมือง จะหาซื้อสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้จัดหฺมฺรับในวันแรม ๑๔ ค่ำเดือนสิบ 'วันยกหฺมฺรับ' หรือ 'วันรับตายาย' จะ ยกหฺมฺรับไปวัดและนำอาหารและขนม ส่วนหนึ่งวางไว้ตามที่ต่าง เช่น ริมกำแพงวัด โคนต้นไม้ เป็นต้น เพื่อแผ่ส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วที่ปราศจากญาติ ระยะหลังมักนิยมสร้างร้านให้ผู้คนนำขนมมาวางรวมกัน ร้านที่สร้างเรียกว่า 'หลาเปรต' (หลา คือ ศาลา)

-* ที่หลาเปรตจะมีสายสินจน์ผูกอยู่เพื่อให้พระสงฆ์สวดบังสุกุลเพื่อส่งกุศลให้ ผู้ล่วงลับ เมื่อเสร็จพิธีผู้คน จะแย่งกันไปเอาขนมที่หลาเปรต เรียกว่า 'ชิงเปรต' เพราะมีความเชื่อว่าการกินของที่เหลือจากเซ่นไหว้บรรพชนได้กุศลแรง
อ่านต่อคลิก 

5.วัฒนธรรมไทย
          หมายถึง วิถีแห่งการดำรงชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ  นับ ตั้งแต่การดำรงชีวิติในแต่ละวัน การกิน การอยู่ การแต่งกาย การพักผ่อน การทำงาน การจราจรการขนส่ง การแสดงอารมณ์ การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ซึ่งวิถีชีวิตนั้น เริ่มมาจากการที่มีต้นแบบ อาจจะเป็นตัวบุคคลแล้วมีคนส่วนใหญ่ หรือประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยและ ปฏิบัติสืบทอดกันมา โดยสิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งที่ดีงามเพื่อดำรงไว้ซึ่ง วัฒนธรรมไทย ตราบจบชั่วลูกชั่วหลาน

ประเภทของวัฒนธรรม

- วัฒนธรรมทางภาษา ซึ่งก็หมายถึงสำเนียงการพูด ภาษาพูดรวมถึงการ เขียนด้วย

- วัฒนธรรมทางวัตถุ ซึ่งก็คือยวดยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายให้กับชีวิตประจำวัน นั่นเอง

- วัฒนธรรมทางจิตใจ เช่นศาสนา ความเชื่อ ศีลธรรม จริยธรรม ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

- วัฒนธรรมทางจารีตและขนบธรรมเนียมประเพณี  เช่น การทักทายด้วยการไหว้ มารยาทการกิน การเดิน การแต่งกาย ประเพณีแต่งงานเป็นต้น

- วัฒนธรรมทางสุนทรียะ ซึ่งก็ได้แก่ศิลปะสาขาต่างๆ ที่มีความไพเราะ ความสวยงาม เช่น นาฏศิลป์ จิตรกรรม ดนตรี การแสดงต่างๆ เป็นต้น
อ่านต่อคลิก

6.เศรษฐกิจพอเพียง
จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายใน เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตก สลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่ม สูญหายไป
สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนด ชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้อง การต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่ เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี
อ่านต่อคลิก


7. รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙
อ่านต่อคลิก

8. พลเมืองดีของสังคม
หน้าที่ของพลเมืองดีของสังคม
           
การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามหลักธรรม ประกอบด้วย จริยธรรม คุณธรรม จริยธรรม

จริยธรรม หมายถึง หลักในการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย  หลักการของกิริยาที่ควรประพฤติทำให้สังคมอยู่ร่วมกันโดยสงบ
คุณธรรม หมายถึง หลักในการประพฤติปฏิบัติที่สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น  หลักการที่ดีมีประโยชน์ที่สังคมเห็นว่าเป็นความดีความงาม
ศีลธรรม หมายถึง หลักในการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย พร้อมกันนั้นก็สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย  ความเป็นปกติหรือการรักษา กาย วาจา ใจให้เป็นปกติ ไม่ทำชั่วเบียดเบียนผู้อื่น

ความสำคัญของจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม
1. ช่วยให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความราบรื่นและสงบสุข
2. ช่วยให้คนเรามีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา
3. ช่วยสร้างความมีระเบียบวินัยให้แก่บุคคลในชาติ
4. ช่วยควบคุมไม่ให้คนชั่วมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
5. ช่วยให้มนุษย์นำความรู้และประสบการณ์ ที่ร่ำเรียนมาสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่า
6. ช่วยควบคุมการเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจของคนให้เจริญไปพร้อมๆกัน
7. ช่วยสร้างความมั่นคงทางจิตใจให้มนุษย์

ลักษณะของจริยธรรม คุณธรรม คุณธรรมและจริยธรรม คือ สิ่งที่เป็นความดีควรประพฤติปฏิบัติ
            1. ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
            2. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
            3. ความมีระเบียบวินัย
            4. ความซื่อสัตย์
            5. ความเสียสละ
            6. ความอดทน
            7. การไม่ทำบาป
            8. ความสามัคคี 

9. การเมืองการปกครอง
  1. รูปแบบการเมืองการปกครองของสังคมโลกนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน
    • รูปแบบการปกครองในอดีต ในสมัยอดีตการการที่จะวิเคราะห์ว่าบ้านเมืองใดมีการปกครองแบบใด เราสามารถพิจารณาได้จากองค์ประกอบ 2 องค์ประกอบคือ
      • การปกครองนั้นเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม
      • การปกครองนั้นรับใช้ผลประโยชน์ของคนๆ เดียว กลุ่มคนหรือพรรค ทั้งนี้ อาจแบ่งแยกรูปแบบการปกครองตามลักษณะของผู้รับผลประโยชน์ และจำนวนผู้ที่ปกครองตามที่อริสโตเติ้ลแบ่งเอาไว้ได้ 6 รูปแบบ ดังนี้
ปกครองโดย
เพื่อประโยชน์/ผู้รับประโยชน์
ชื่อรูปแบบ
คนเดียว
ส่วนรวม
ราชาธิปไตย
คนเดียว
ส่วนตน
ทรราช
กลุ่ม/คณะบุคคล
ส่วนรวม
อภิชนาธิปไตย
กลุ่ม/คณะบุคคล
ส่วนตน
คณาธิปไตย
ประชาชน
ส่วนรวม
ระบอบรัฐธรรมนูญ
ประชาชน
พรรค
ประชาธิปไตย
  1. รูปแบบการปกครองในปัจจุบัน มี 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ
ระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย หมายถึง ระบบการปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองอย่างแท้จริง ทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • ประชาธิปไตยทางตรง คือ ประชาชนร่วมกันลงประชามติ กำหนดแนวทาง หรือตัดสินใจในทางการเมืองการปกครอง เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์และสิทธิ เสรีภาพของตนได้โดยตรงซึ่งมักใช้ในสังคมที่มีขนาดเล็ก
  • ประชาธิปไตยทางอ้อม คือ การที่ประชาชนคัดเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตน โดยการใช้สิทธิออกเสียงในสภาเพื่อพิทักษ์ ผลประโยชน์ สิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยรวม
ประเทศที่ปกครองแบบประชาธิปไตย ประชาชนในประเทศจะมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองด้วยการเลือกตั้งผู้แทนราษฏรเข้ามาใช้อำนาจปกครองประเทศ เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม หน่วยการปกครองประกอบด้วยสภานิติบัญญัติ และคณะรัฐมนตรี ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนของประชาชน ที่ได้รับเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งอย่างในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อครบวาระจะมีการเลือกตั้งใหม่ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาปกครองประเทศตามความต้องการของประชาชน

10. สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิพื้นฐานในความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีสิทธิที่กฏหมายกำหนดและสิทธิที่ไม่ระบุไว้เป็นกฏหมาย
ความหมายของสิทธิมนุษยชน
หมายถึง สิทธิที่ทุกคนมีอยู่ในฐานะเป็นมนุษย์ ทั้งสิทธิในการดำรงชีวิตอยู่ในส่วนบุคคลและสิทธิในการอยู่ร่วมกันในสังคม สิทธิในความเป็นมนุษย์นั้น มีทั้งสิทธิตามกฏหมายและสิทธิที่มีอยู่โดยไม่ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติของกฏหมาย แต่เป็นสิทธิที่เกิดจากมาตรฐานเพื่อความถูกต้อง ความเป็นธรรม หรือความยุติธรรม แต่เดิมสิทธิมนุษยชนจะกล่าวถึงในชื่ออื่น เช่น สิทธิในธรรม สิทธิในธรรมชาติ เป็นต้น

สิทธิมนุษยชนจะครอบคลุมสิทธิต่างๆ ในการดำรงชีวิตของมนุษย์เพื่อให้มีชีวิตที่ดีในสังคมดังนี้
  • สิทธิในชีวิต ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้และได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัยได้รับการตอบสนองตามความต้องการขั้นพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ทุกชีวิตล้วนมีคุณค่าด้วยกันทั้งสิ้น ไม่วาจะเป็นบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีวิตอยู่เป็นพิเศษจากผู้อื่น เช่น คนพิการ คนชรา ฯลฯ ดังนั้นทุกคนควรปฏิบัติต่อบุคคลด้อยโอกาส ให้ความสำคัญ ให้โอกาสและให้ความช่วยเหลือตามสมควร เพื่อให้ทุกชีวิตมีความเท่าเทียมกันมากที่สุด
  • สิทธิในการดำเนินชีวิตและพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ถูกต้อง คนในสังคมต้องให้โอกาสกับคนที่เคยกระทำไม่ถูกต้อง ให้โอกาสคนเหล่านี้ได้รับการอบรมแก้ไขและพัฒนาตนเองใหม่ ให้สามารถมีชีวิตที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น
  • สิทธิในการยอม รับนับถือ หมายถึง การที่บุคคลพึงปฏิบัติต่อกันด้วยการยอมรับซึ่งกันและกัน ให้ความสำคัญกับศักดิ์ศรีและคุณค่าของชีวิตด้วยความเท่าเทียมกัน
ประเทศไทยได้เข้าร่วมรับรอง "ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" ของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ดังนั้นบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงได้กำหนดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนตระหนักในความสำคัญของสิทธิมนุษยชน และเป็นแนวทางปฏิบัติต่อกันในฐานะเพื่อนมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน โดยตระหนักว่าทุกคนมีสิทธิในชีวิต มีสิทธิในการยอมรับนับถือ และมีสิทธิในการดำรงชีวิตและพัฒนาตนเองตามแนวทางที่ถูกต้องนั้นเอง
บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกสิบคน ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  • เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฏหมาย กฏ หรือข้อบังคับ ต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
  • ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเสมอมาตรการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคล หรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าว เพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป
  • ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
  • ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชน
สรุปได้ว่า ทุกคนมีสถานภาพและบทบาทของตนเอง บุคคลต้องแสดงบทบาทให้สอดคล้องประสานกับสถานภาพของตนเอง
นอกจากนี้ทุกคนยังมีสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ต้องปฏิบัติซึ่งกฏหมายจะกำหนดไว้ ทุกคนควรให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เพื่อจะได้ปกป้องคุ้มครองตนเองและผู้อื่นให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างสงบสุข
อ่านต่อคลิก